ความผิดปกติขอการนอนที่พบบ่อยมากที่สุด คือ อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) หรือนอนหลับไม่สนิท หากเกิดขึ้นบ่อยหรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตในอนาคตได้ อาการนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ เกิดได้จากหลายปัจจัย หากมีอาการนอนไม่หลับมากกว่า 2 สัปดาห์ และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน แนะนำให้พบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาอย่างถูกต้อง
โรคนอนไม่หลับ
การนอนหลับเป็นปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิต หากมีการนอนหลับพักผ่อนได้ดีและเพียงพอจะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง สดชื่นแจ่มใส ไม่หงุดหงิดง่าย แต่ในบางรายที่พบว่าตนเองมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ เช่น นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่สนิท การหลับๆ ตื่นๆ ตลอดทั้งคืน การตื่นขึ้นมากลางดึก ตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น การตื่นมาแล้วไม่สดชื่น และง่วงนอนในเวลากลางวัน หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์
สาเหตุของการนอนไม่หลับ
สาเหตุของอาการนอนไมหลับ เกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
1.ปัจจัยด้านร่างกาย เช่น อาการเจ็บปวด มีไข้ โรคสมองเสื่อม หายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคกรดไหลย้อนบางรายมีระบบประสาทที่ตื่นตัวมากกว่าปกติ ทำให้หลับยาก หรือ ได้รับสารกระต้นบางอย่าง เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2.ปัจจัยด้านจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า
3.ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น แสงสว่าง เสียงดัง กลิ่นเหม็น
4.ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการนอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น การทำงานที่ไม่เป็นเวลา รับประทานอาหารที่ย่อยยาก ออกกำลังกายใกล้เวลานอน การเล่นเกม การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
นอนไม่หลับ ส่งผลเสียกับสุขภาพร่างกายอย่างไร
อาการนอนไม่หลับ สามารถทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองและร่างกายลดลง ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตในอนาคตได้ เช่น
– เกิดโรคภูมิแพ้ หอบหืด ได้ง่ายขึ้น
– เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง และปัญหาด้านระบบหลอดเลือดหัวใจ
– ระบบภูมิคุ้มกันทำงานโดยมีประสิทธิภาพลดลง
– มีผลต่อการเจริญเติบโต ร่างกายมีภาวะอ่อนเพลีย
– ระบบเผาผลาญผิดปกติ
– มีอาการป่วย เช่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ท้องผูกหรือท้องเสีย
– มีผลต่อด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น โกรธง่าย มีอารมณ์แปรปรวน ตึงเครียด กังวล ซึมเศร้า และมีอาการเฉื่อยชา
– ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
การรักษาอาการนอนไม่หลับ
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยแต่ละบุคคล แล้วมุ่งเน้นไปที่สาเหตุนั้นๆ เช่น หากเกิดจากอุปนิสัยการนอน แพทย์จะให้คำแนะนำอุปนิสัยการนอนที่ถูกต้อง หรือหากเกิดจากโรคทางจิตใจหรือระบบประสาท เช่น โรคซึมเศร้า โรคประสาทตื่นตัวผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาร่วมด้วย เป็นต้น
การป้องกันการนอนไม่หลับ
การป้องกันและแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ สามารถทำได้โดยส่งเสริมสุขภาพของการนอนอาจทำได้หลายวิธี ดังนี้
1.จัดห้องให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการนอน แสง ไฟ อุณหภูมิของห้องมีความเหมาะสม สบายต่อการพักผ่อน
2.หลีกเลี่ยงการงีบในช่วงกลางวันหรืองีบให้น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และไม่ควรงีบหลังจากบ่าย 3 โมง
3.เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาเดียวกัน
4.ไม่ควรให้มีเสียงหรือแสงรบกวนจนเกินไป
5.นอนหลับเมื่อรู้สึกง่วง หากเข้านอนแล้ว แต่นอนไม่หลับภายใน 20-30 นาที อย่าฝืนให้ลุกขึ้นมาทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย
6.หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ หรือชา หลังอาหารเที่ยง
7.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน
8.หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก หรืออาหารที่ย่อยยากก่อนนอน เพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง หรือโรคกรดไหลย้อนได้
9.ไม่ควรใช้ยานอนหลับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Nakornthon Hospital (nakornthon.com/article/detail/นอนไม่หลับ-นอนหลับยาก-อาการที่ไม่ควรมองข้าม)
บทความโดย นพ.ภาณุวัฒก์ ว่องตระกูลเรือง ( Nakornthon Hospital)
อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ คลินิกผู้สูงอายุ
คามามายล์ ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น เยอรมันคา โมมายล์, โรมันคาโมมายล์ (ทั่วไป)
คนไทย มีอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ตื่นง่าย สมองไม่หยุดคิด พักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดภาวะเครียด ตื่นเช้าไม่สดชื่น ปัญหานี้เกิดขึ้นกับคนไทยทุกเพศทุกวัย 30-40% ของประชากร อาการเครียด แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ทั้ง ป่วยทางกาย และ ป่วยทางจิตใจ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย และ สมอง เป็นต้น เหตุเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ อาการแพนิก วิตกกังวล ไมเกรน ร่างกายอ่อนเพลีย ความจำสับสน การตัดสินใจแย่ลง หากพูดถึง สารอาหารที่ช่วยแก้ปัญหานอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ ไมเกรน ลดอาการนอนกรน พักผ่อนไม่เพียงพอ รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา เกิดภาวะอ้วนและเบาหวาน และยังมีความเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง ประสิทธิภาพของสมองในการเรียนรู้ การจดจำลดต่ำลง รวมไปถึงมีสภาวะทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล เป็นต้น
การนอนหลับกับสุขภาพ
ช่วงเวลานอนหลับ ร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนสำคัญต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อระบบการหมุนเวียนเลือด ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โพรแลกติน (Prolactin) อินซูลิน (Insulin) และอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาหลับสนิท ต่อมใต้สมองจะผลิตและหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone, GH) เพิ่มมากขึ้นหลายเท่า จึงมีผลสำคัญต่อการเจริญเติบโต กระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย และกระตุ้นให้สร้างโปรตีนเพื่อใช้ซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ให้ทำงานเป็นปกติ
คาโมมายล์กับการผ่อนคลาย
แพทย์ทางตะวันออกได้มีการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อการผ่อนคลายและนอนหลับมาเป็นเวลานาน หนึ่งในพืชที่รู้จักกันดีทั่วโลกและนิยมนำมาใช้เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพก็คือ คาโมมายล์ (Chamomile) ซึ่งมีการค้นพบและมีการบันทึกประวัติการใช้รักษาโรคมาอย่างยาวนานในเภสัชตำรับของประเทศต่าง ๆ กว่า 26 ประเทศ ในตั้งแต่สมัยยุคกรีกโรมันโบราณ คาโมมายล์จัดอยู่ในพืชตระกูลดอกเดซี่ (Asteraceae) มีลักษณะเป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกสีขาวและมีเกสรสีเหลืองอยู่กลางดอก โดยจะเบ่งบานส่งกลิ่นหอมในต้นฤดูร้อนช่วงมีนาคม-เมษายน และจะบานสะพรั่งไปจนถึงช่วงปลายเดือนมิถุนายน ด้วยกลิ่นหอมนี้เองจึงมีการนำเอาดอกคาโมมายล์มาอบแห้งใช้ทำเป็นชา น้ำมันหอมระเหย และนำสารสกัดจากดอกคาโมมายล์มาใช้กันอย่างแพร่หลาย
จากรายงานการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมีการดื่มชาดอกคาโมมายล์มากกว่าหนึ่งล้านถ้วยต่อวัน ซึ่งในดอกคาโมมายล์จะมีสารพฤษเคมีหลากหลายชนิด แต่พบอะพิจีนีนเป็นสัดส่วนสูงที่สุด ซึ่งสารอะพิจีนีนนี้มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ ช่วยขับลมในกระเพาะและช่วยให้รู้สึกสงบ คลายความกังวล ช่วยให้หลับสนิท มีการศึกษาวิจัยในกลุ่มอาสาสมัครเพศหญิงพบว่า กลิ่นของน้ำมันจากดอกคาโมมายล์มีผลช่วยทำให้รู้สึกสบายอยู่ในภาวะสงบ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางคลินิกในกลุ่มที่มีภาวะโรควิตกกังวล โดยให้รับประทานสารสกัดจากดอกคาโมมายล์ติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่ามีความวิตกกังวลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้เอง ดอกคาโมมายล์จึงมีศักยภาพในการส่งเสริมการนอนหลับให้ดีขึ้นได้
การนอนหลับไม่สนิทไม่มีคุณภาพจะส่งผลให้รู้สึกเพลีย ไม่สดชื่นแจ่มใส อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย รู้สึกง่วงนอนในช่วงบ่าย ๆ ของวัน หากก่อให้เกิดภาวะอดนอนสะสมเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่จะตามมาได้ การนอนหลับที่มีคุณภาพจะขึ้นกับจำนวนชั่วโมงและช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเข้านอน ช่วงเวลาหลับสนิทเป็นช่วงที่สมองและร่างกายทำงานสัมพันธ์อย่างเป็นระบบเพื่อการฟื้นฟูร่างกายและคงสุขภาพที่ดี แพทย์ทางตะวันออกได้มีการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อการผ่อนคลายและนอนหลับมาเป็นเวลานาน พบว่าคาโมมายล์มีฤทธิ์ช่วยให้รู้สึกสงบ คลายความกังวล และช่วยให้หลับสนิท การนอนหลับให้สนิทเป็นการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตจากภายใน จะช่วยให้ตื่นขึ้นมาด้วยจิตใจเบิกบานแจ่มใส และช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id=137
และ https://dnight-multivitamin.mh8shop.com/